Internet of Things (loT) and smart farming
ในปัจจุบัน IoT ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่างทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพโดย ใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด ซึ่งนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า เกษตรอัจริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ซึ่งได้นำเทคโนโลยี RFID Sensors เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้น สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ เช่น การใช้เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่างๆ อย่าง เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอร์วัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจโรคพืช (Plant Disease Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor) เป็นต้น เซ็นเซอร์เหล่านี้สามารถนํามาวางเป็นระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปล่อยในพื้นที่ไร่นา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง และสารเคมี เพื่อที่จะทราบว่าควรมีการให้ปุ๋ย น้ำ ยาฆ่าแมลง เมื่อใด และเท่าใดตามสภาพความแตก ต่างของพื้นที่ ซึ่งการให้ปุ๋ย น้ำ และยาฆ่าแมลงก็จะใช้เทคโนโลยีการให้ปุ๋ย/น้ำ/ยาฆ่าแมลง หรือที่เรียกว่า Variable Rate Technology (VRT) โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้ระบบเซ้นเซอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าแปลงใดควรจะมีการให้ปุ๋ย น้ำ และย่าฆ่าแมลงเท่าใดในช่วงเวลาใด ซึ่งเทคโนโลยีจะใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Global Positioning System (GPS) นั่นเอง
ปัจจุบันไทยได้มีการนำงานวิจัยไปใช้ใน เกษตรสมัยใหม่ หลากหลายรูปแบบค่ะ ดังผลงานวิจัย วว. ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ เช่น
1. ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับโรงเรือนปลูกผักด้วยน้ำ ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสิ่ง (Internet of Things : IoTs) ในการติดตามสภาพแวดล้อมการเจริญเติบโตของผักในโรงเรือนปลูกผักด้วยน้ำผ่านแอพฟลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ นำไปใช้งานที่บริษัทอินดัสเตรียลออโตเมชั่น แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด จังหวัดนนทบุรี
2. ระบบสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์แบบ Gantry Robot ชนิดควบคุมอัตโนมัติ ใช้สุ่มตรวจคุณภาพวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและลดแรงงานในการผลิตอาหารสัตว์ นำไปใช้งานที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ณ โรงงานจังหวัดนครราชสีมา ลำพูน พิษณุโลก ขอนแก่น ลพบุรี ราชบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สงขลา และที่บริษัททรัพย์สถาพร จำกัด 7ณ โรงานจังหวัดลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา
3. เครื่องคัดแยกกาแฟเชอรี่สด (Coffee Cherries Sorting Machine) มีกำลังการผลิต 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดสารกาแฟ (Coffee Bean Separator Machine) มีกำลังการผลิต 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง นำไปใช้งานที่ไร่กาแฟอินทรีย์รักษาป่า ‘มีวนา’บ้านขุนลาว ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
4. เครื่องชุบถุงมือผ้าเคลือบยางกึ่งอัตโนมัติ นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพารา มีกำลังการผลิต 3,000 คู่ต่อวัน นำไปใช้งานที่กลุ่มชาวสวนยางบ้านในสวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลิตและจำหน่ายถุงมือผ้าเคลือบยางทั้งในและต่างประเทศ เช่น อิสราเอล
5. เครื่องแยกทะลายปาล์มอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้งานได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูง ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ นำไปใช้งานที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโมถ่ายจำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่มา:https://www.tistr.or.th/tistrblog/p=4731&fbclid=IwAR09yzNZVDctbRNVjs8Kewmtsmk2B4xIwEpCmdWzwtnambFDtz48s7dUWE